(สำหรับแพทย์ผู้สนใจ) โครงการฝึกเวชหัตถการกู้ชีพขั้นสูง Resuscitative Procedure Course 2563-64

วิทยาลัยแพทย์ฉุกเฉินแห่งประเทศไทย เปิดอบรม Resuscitative Procedures Course สำหรับแพทย์ผู้สนใจเพื่อการช่วยเหลือผู้ป่วยวิกฤติอย่างเป็นระบบ
โดยเรียน Lecture ผ่าน ระบบ Video online และมีตารางการจัด Workshop จำนวน 2 รอบ ดังนี้

วันที่ 24-25 ธันวาคม 63 สถานที่ รพ.มหาราช นครเชียงใหม่
วันที่ 1-2 มีนาคม 64 สถานที่ รพ.รามาธิบดี

โดยผู้เรียนสามารถเลือกเรียน Workshop ได้เพียงรอบเดียวเท่านั้น

สามารถดูรายละเอียดตารางเรียน Workshop ได้ คลิกที่นี่

ขั้นตอนการลงทะเบียนสมัคร Resuscitative Procedures Course สำหรับแพทย์ผู้สนใจ
เปิดรับสมัคร วันจันทร์ที่ 28 กันยายน 2563 จนถึง 31 ตุลาคม 2563 หรือจนกว่าผู้สมัครครบตามจำนวน
1. ก่อนเข้าระบบโอนเงินลงทะเบียนเรียน จำนวน 9,500 บำท มาที่
“ธนาคารกรุงไทย สาขากระทรวงสาธารณสุข-ติวานนท์ บัญชีเลขที่ 142-0-25854-0 ชื่อบัญชี วิทยาลัยแพทย์ฉุกเฉินแห่งประเทศไทย เพื่อ อฝส.”
(ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป) แนะนำให้ทำก่อนเพราะต้องแนบหลักฐานการโอนเงินขณะกรอกข้อมูลในใบสมัคร

  1. เริ่มรับลงทะเบียน วันจันทร์ที่ 28 กันยายน 2563 จนถึง 31 ตุลาคม 2563 หรือจนกว่าผู้สมัครครบตามจำนวน
    เข้าไปที่ http://learn.logroll07.com ( หากไม่เคยทำการลงทะเบียน กรุณาทำการลงทะเบียน )
    กรอกข้อมูลให้ครบถ้วน ระวังสะกดผิด! เพราะต้องใช้ประกอบการทำประกาศนียบัตร
    เลือก enroll หัวข้อเรียน TCEP Resuscitative procedure 2563 โดยใช้ self-enrollment code : tcepresus2563
    เลือกรอบที่ต้องการลงทะเบียน แต่ละรอบจะมีการจำกัดผู้เรียนอยู่ที่ 32 คน โดยผู้ลงทะเบียนก่อนมีสิทธิได้เลือกรอบก่อน

หลังจากตรวจสอบหลักฐานการชำระเงินเรียบร้อยแล้ว ผู้เรียนจะสามารถเข้าถึง Video online ได้ เพื่อศึกษาบทเรียนก่อนเข้า workshop โดยสามารถกลับมาทบทวนได้
ผู้เรียนต้องดูบทเรียน online และทำ pretest ก่อนเข้า workshop โดยจะเปิดให้ทำ pretest ก่อนวันเข้า workshop 2 สัปดาห์ และจะต้องได้คะแนน pretest อย่างน้อย 40% จึงจะมีสิทธิเข้าร่วม workshop

หลังจากผ่านการอบรม workshop และสอบผ่านทั้งทฤษฏีและปฏิบัติแล้ว ผู้เรียนจะสามารถพิมพ์ใบประกาศนียบัตรผ่านการอบรมได้ด้วยตนเองผ่าน
หากสอบทฤษฎีไม่ผ่านในวันที่เข้ารับการอบรม ผู้เรียนจะสามารถทำการสอบซ้ำได้ 1 เดือนหลังจากการสอบครั้งแรก
กรอกข้อมูลให้ครบถ้วน ระวังสะกดผิด! เพราะต้องใช้ประกอบการทำประกาศนียบัตร

ในการฝึกอบรมนี้จะประกอบไปด้วย
- การดูแลทางเดิน หำยใจในภาวะฉุกเฉิน รวมถึงการให้ยานำสลบอย่าง รวดเร็วเพื่อการใส่ท่อช่วยหายใจ (rapid sequence intubation; RSI)
- การให้ยานำสลบในช่วงการทำหัตถการ (procedural sedation)
- การใส่สายใน เส้นเลือดดำใหญ่ในตำแหน่งต่างๆ
- การให้สารน้ำทาง Introosseuos
- การเลือกและการตั้งเครื่องช่วย หายใจแบบ non-invasive และ invasive
- การทำ ultrasound เพื่อการช่วยชีวิต (ultrasound resuscitation)
- การดูแลผู้ป่วย หลังการช่วยชีวิต (post resuscitation care)
- การฝึกใช้อุปกรณ์ ช่วยชีวิตและการติดตามอาการโดยใช้ เครื่องมอนิเตอร์แบบก้าวหน้า (advanced monitoring) อย่างเหมาะสมถูกต้อง
- การประเมินและการ จัดการทีมดูแลผู้ป่วยฉุกเฉิน (team approach for resucitation)

Attachment: 
Image: