6 แพทย์หญิง ยุวเรศมคฐ์ สิทธิชาญบัญชา

วาระ: 
2561-2563
หมายเลข: 
6
คำนำหน้า: 
แพทย์หญิง
ชื่อ นามสกุล: 
ยุวเรศมคฐ์ สิทธิชาญบัญชา
อายุ: 
45ปี
สำเร็จการศึกษาจาก: 
คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล
เลขที่ใบประกอบวิชาชีพเวชกรรม: 
21810
คุณวุฒิ: 

แพทยศาสตร์บัณฑิต ,

วุฒิบัตรอายุรศาสตร์ ,

อนุมัติบัตรเวชศาสตร์ฉุกเฉิน

สถานที่ปฏิบัติงานประจำ: 
ภาควิชาเวชศาสตร์ฉุกเฉิน คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี
ตำแหน่ง: 
รองศาสตราจารย์ , หัวหน้าภาควิชาเวชศาสตร์ฉุกเฉิน
ผลงานสำคัญ: 

ผลงานในฐานรองประธานด้านวิชาการ วิทยาลัยแพทย์ฉุกเฉิน

  1. การส่งเสริมการพัฒนาหลักสูตร EMS director course สำหรับแพทย์ประจำบ้านเวชศาสตร์ฉุกเฉิน และประสานหาแหล่งทุนเพื่อสนับสนุนค่าลงทะเบียนในการอบรมให้แพทย์ประจำบ้าน
  2. การส่งเสริมการพัฒนาหลักสูตร Resuscitative procedure สำหรับแพทย์ประจำบ้านเวชศาสตร์ฉุกเฉินและประสานหาแหล่งทุนเพื่อสนับสนุนค่าลงทะเบียนในการอบรมให้ แพทย์ประจำบ้าน
  3. การจัดทำโครงการยกร่างเกณฑ์การคัดแยกผู้ป่วยที่มารับบริการที่แผนกฉุกเฉิน ร่วมกับ สพฉ.
  4. การจัดประชุมวิชาการประจำปีวิทยาลัยแพทย์ฉุกเฉินแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 2 วันที่ 11-13 มีนาคม 2561 เพื่อพัฒนาความรู้และทักษะแก่แพทย์ฉุกเฉินทั่วประเทศ

ผลงานในฐานะหัวหน้าภาควิชาเวชศาสตร์ฉุกเฉิน คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี

  1. พัฒนาคุณภาพของภาควิชาเวชศาสตร์ฉุกเฉิน คณะแพทยศาสตร์รามาธิบดี จนมีผลการด าเนินการตามพันธกิจหลัก ด้านการบริการ (เป็นภาควิชาเวชศาสตร์ฉุกเฉินแห่งแรกของประเทศไทยที่ได้รับรางวัล กพร.๔ รางวัล, การรับรองราย โรคหลอดเลือดสมอง จาก สรพ. และรางวัลการบริการระดับชาติและนานาชาติอีกหลายรางวัล) การวิจัย (เป็นภาควิชา เวชศาสตร์ฉุกเฉินที่มีผลการตีพิมพ์งานวิจัยทั้งในประเทศและนานาชาติมากที่สุดในประเทศไทย ข้อมูลล่าสุด ถึงเดือน เมษายน.๒๕๖๐ไทย) การศึกษา (เป็นภาควิชาเวชศาสตร์ฉุกเฉินแห่งแรกของประเทศไทย ที่มีหลักสูตรเวชศาสตร์ฉุกเฉิน ทั้งหลักสูตรก่อนปริญญา หลังปริญญา ทั้งวิชาหลักและวิชาเลือก(ส าหรับ นศ.ไทยและต่างชาติ) มีผลการดำเนินการ ด้านการศึกษา เป็น Best Practice ของคณะแพทยศาสตร์รามาธิบดี ในปี พศ.๒๕๕๖)
  2. เปิดหลักสูตรปริญญาตรี วิทยาศาสตร์บัณฑิต สาขานักปฏิบัติการแพทย์ฉุกเฉิน เป็นหลักสูตรแรกของ คณะ แพทยศาสตร์ในมหาวิทยาลัยมหิดล ในปี พศ.๒๕๕๘ ที่มีการดำเนินการจัดการเรียนการสอนโดยอาจารย์แพทย์เวชศาสตร์ฉุกเฉินทั้งหมด
  3. เป็น ผู้ตรวจประเมินรางวัลคุณภาพแห่งชาติ (TQA) ผู้เยี่ยมสำรวจ สถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล องค์การ มหาชน(สรพ.) ผู้ตรวจประเมิน/วิทยากร การพัฒนาคุณภาพการศึกษาด้วยเกณฑ์ EdPEx ของมหาวิทยาลัยมหิดล สำนักงานคณะกรรมการอุดมศึกษา
  4. เป็นประธานศูนย์รามาธิบดีอภิบาล(ศูนย์การดูแลผู้ป่วยแบบประคับประคอง: Palliative care) คณะแพทยศาสตร์รามาธิบดี, คณะกรรมการสมาคมบริบาล ผู้ป่วยระยะท้ายแห่งประเทศไทย พัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายในคณะแพทยศาสตร์รามาธิบดี จนได้รับ รางวัล กพร.ด้านการบริการในปี พศ.๒๕๕๔
  5. ได้รับรางวัลครดีศรีมหิดล จากสมาคมศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยมหิดล พศ.2561
  6. ได้รับรางวัลบุคลากรดีเด่น สายวิชาการ จากคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี พศ.2561
  7. ได้รับรางวัลบุคคลดีเด่น ด้านการสนับสนุนวิชาการ ระดับปฏิบัติการ จากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข มีนาคม 2560 ในงานประชุมวิชาการการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติประจำปี 2560
นโยบาย และข้อความถึงเพื่อนสมาชิก: 

ในช่วงระยะเวลา 2 ปีของการดำรงตำแหน่งในฐานประธานด้านวิชาการ สามารถขับเคลื่อนให้เกิดหลักสูตรสำหรับแพทย์ประจำบ้านเวชศาสตร์ฉุกเฉินที่สำคัญ 2 หลักสุตร คือ EMS Director course และ Resuscitative procedure และพยายามประสานกับภาคีเครือข่าย เพื่อหาทุนสนับสนุนค่าลงทะเบียนให้แก่ แพทย์ประจำบ้านทุกสถาบัน เพื่อให้แพทย์ประจำบ้านทุกคนสามารถเข้าถึงการฝึกอบรมหลักสูตรที่จำเป็นได้อย่างเท่าเทียมกันด้วยความร่วมมือของอาจารย์แพทย์เวชศาสตร์ฉุกเฉินจากทุกสถาบัน ถือเป็นหลักสูตรพื้นฐาน เป็นประวัติศาสตร์การพัฒนาเวชศาสตร์ฉุกเฉินของประเทศไทย นอกจากนี้ได้มีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนการพัฒนาระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉินของประเทศไทย โดยการเป็นรองประธานคณะกรรมการยกร่างระบบการคัดแยกผู้ป่วยฉุกเฉิน ร่วมกับสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติในการยกร่างเกณฑ์การคัดแยกผู้ป่วยฉุกเฉินโดยการบูรณาการเกณฑ์ ESI และ CTAS ให้เหมาะสมกับบริบทของประเทศไทย(อยู่ในระหว่างการดำเนินการ) เป็นตัวแทน วฉท.ในการเป้นคณะอนุกรรมการรับรององค์กรและหลักสูตรการศึกษาและฝึกอบรมผู้ปฏิบัติการ และการให้ประกาศนียบัตรหรือเครื่องหมายวิทยฐานะแก่ผู้ผ่านการศึกษาหรือฝึกอบรม และ ร่วมสนับสนุนการยกระดับให้นักปฏิบัติการฉุกเฉินการแพทย์ได้รับการรับรองจากคณะกรรมการสภาวิชาชีพ ให้เป็นอีก 1 วิชาชีพใหม่ของประเทศไทย

-แผนการดำเนินการต่อไป :

  1. สานต่อโครงการการฝึกอบรมที่ได้ดำเนินการไปแล้วทุกโครงการ ทั้ง EMS director course ,Resuscitative procedure การยกร่าง Thai Triage
  2. พัฒนาหลักสูตรการฝึกอบรมอื่นๆ ที่จำเป็นต่อการเป็นแพทย์ฉุกเฉิน เช่น Ultrasound course,หลักสูตรผู้บริหารห้องฉุกเฉิน,หลักสูตรการพัฒนาคุณภาพแผนกฉุกเฉิน
  3. การจัดทำวารสารเวชศาสตร์ฉุกเฉิน เพื้อเป็นแหล่ความรู้และตีพิมพ์ผลงานทางวิชาการของแพทย์ฉุกเฉิน
  4. จัดการประชุมวิชาการประจำปีวิทยาลัยแพทย์ฉุกเฉินครั้งที่ 3 เพื่อพัฒนาความรู้ ที่ทันสมัย ให้แก่แพทย์ฉุกเฉินต่อไป

โครงการทั้งหมดนี้ มีแผนการดำเนินการเพื่อมุ่งหวังส่งเสริมการศึกษาการฝึกอบรม ความก้าวหน้าในการให้บริการการแพทย์ฉุกเฉิน การวิจัย โดยการประสานกับภาคเครือข่ายทั้งในประเทศ และ ต่างประเทศ เพื่อให้สาขาเวชศาสตร์ฉุกเฉินไทย และแพทย์เวชศาสตร์ฉุกเฉินไทย มีการพัฒนาเป็นที่ยอมรับใน ระดับประเทศในช่วงเวลาอันใกล้และในระดับสากลในอนาคตต่อไป